กฎหมายธุรกิจกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ
     1. กฎหมายเกี่ยวกับการจัดองค์กรธุรกิจ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, พรบ.บริษัทมหาชนจำกัด
     2. กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการทางธุรกิจ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น
     3. กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบธุรกิจ เช่น พรบ.แรงงาน พรบ.ประกันสังคม
     4. กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการค้า การลงทุน และการเงิน

กฎหมายธุรกิจกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กฎหมายธุรกิจเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทุกหมวดหมู่อันได้แก่
     1. กฎหมายธุรกิจ เป็นได้ทั้งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอาญา เมื่อพิจารณาจากสภาพบังคับ
     2. กฎหมายธุรกิจ เป็นได้ทั้งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน
     3. กฎหมายธุรกิจ เป็นทั้งกฎหมายสาระบัญญัติและกฎหมายวิธีบัญญัติ จำแนกโดยถือเนื้อหาและการบังคับใช้

ข้อระวังในการบังคับใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร
     1. ต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายในลำดับสูง
     2. พิจารณาวันเริ่มใช้บังคับกฎหมายลายลักษณ์อักษร
     3. พิจารณาว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรถูกยกเลิกไปหรือยัง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
     1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายเอกชน ที่บัญญัติถึงสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน และเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ที่บัญญัติถึงสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธ์ ไม่ใช่บัญญัติถึงวิธีพิจารณาความ
     2. ให้วิธีบัญญัติให้เป็นหมวดหมู่และสังเคราะห์ให้เป็นหลักทั่วไป
     3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งออกเป็น 6 บรรพ ดังนี้
          บรรพ 1 หลักทั่วไปเกิดจากการสังเคราะห์เนื้อหาที่เหมือนกัน
          บรรพ 2 หนี้ ว่าด้วยเรื่องหนี้
          บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ว่าด้วยเรื่องสัญญา
          บรรพ 4 ทรัพย์สิน ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สิน
          บรรพ 5 ครอบครัว ว่าด้วยเรื่องครอบครัว
          บรรพ 1 มรดก ว่าด้วยเรื่องมรดก

เอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
     1. นิติกรรม คือ การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลโดยได้มีการแสดงเจตนามุ่งจะก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย
     2. สัญญา คือ นิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป และเป็นบ่อเกิดแห่งสัญญาหนี้
     3. เอกเทศสัญญา คือ นิติกรรมสัญญาที่กฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะทั้งยังกำหนดรูปแบบ สาระสำคัญ กำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่กรณี และการระงับแห่งสัญญาโดยกฎหมายให้เสรีภาพแก่ประชาชนแต่ละคนที่จะเข้าทำนิติกรรมสัญญาใดๆ ก็ได้ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และนิติกรรมสัญญานั้นย่อมสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้หากไม่ขัดบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
 
รูปภาพจาก kriengsak.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น