ลิขสิทธิ์คืออะไร

     ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องของลิขสิทธิ์ เรามารู้จักกับหัวข้อใหญ่ก็คือ ทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากวัตถุที่เป็นรูปร่างอันเป็นทรัพย์ซึ่งบุคคลถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์ได้แล้ว บุคคลยังมีสิทธิ์ในวัตถุไม่มีรูปร่างที่กฎหมายยอมรับและคุ้มครองให้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ที่เรียกกันว่า "ทรัพย์สินทางปัญญา" ได้แก่ กรณีที่กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสร้างสรรค์การประดิษฐ์หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ มี 3 ประเภท คือ 1. ลิขสิทธิ์ 2. สิทธิบัตร 3. เครื่องหมายการค้า
ตัวอย่างหนังสือรับรองลิขสิทธิ์
ตัวอย่างหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ของประเทศไทย

     ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงาน ที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
     กฎหมายลิขสิทธิมุ่งคุ้มครองงานที่บุคคลได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตนเอง ไม่ให้ใครลอก หรือเลียนแบบ เอาไว้ใช้ประโยชน์ เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์งาน ได้แก่ ผู้ทำ หรือผู้ก่อให้เกิดงาน โดยความริเริ่มของตนเองได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในงานสร้างสรรค์ของตน และให้ผู้อื่นเคารพในสิทธิของผู้สร้างสรรค์นั้น
     งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองนี้ จะต้องไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความคิด แนวคิด หรือแนวเรื่อง แต่ต้องเป็นการแดงออกซึ่งแนวคิด เป็นการสร้างสรรค์โดยตน เป็นงานชนิดที่กฎหมายยอมรับ แสดงออกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น บทละคร บทความ รูปภาพ หรือแบบพิมพ์ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกมาด้วยการพิมพ์ ออกอากาศ เทศนา คำปราศรัยด้วยเสียง ด้วยภาพ หรือด้วยวิธีอื่นๆ

     งานที่ได้รับการคุ้มครอง
          "งาน" ที่ได้รับการคุ้มครองนั้น คือ งานที่สร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่ภาพ หรืองานอื่นใด อันเป็นงานในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ โดยจำแนกงานสร้างสรรค์ ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้ ออกเป็น 7 ประเภทดังนี้
     1. งานวรรณกรรม งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
         โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความว่า คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด
     2. งานนาฏกรรม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับ การทำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดง ที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และหมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
     3. งานศิลปกรรม หนมายถึง งานอันมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
          (1) งานจิตรกรรม เช่น ภาพเขียน ภาพวาด
          (2) งานประติมากรรม เช่น ภาพแกะสลักรูปต่างๆ
          (3) งานภาพพิมพ์ เช่น งานภาพเขียนต่างๆ ที่ทำมาจากแม่พิมพ์
          (4) งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบ ตกแต่ง จำลอง
          (5) งานภาพถ่าย ที่ใช้กล้องถ่ายภาพหรือวิธีใดๆ ที่ทำให้เกิดภาพ
          (6) งานภาพประกอบ  แผนที่ โครงสร้าง ภาพร้าง รุปทรงสามมิติ เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์
          (7) งานศิลปประยุกต์ ได้แก่งานที่เอางานตามข้อ (1) - (6) ดัดแปลงมาใช้สอย นำไปตกแต่งเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้ประโยชน์
     4. งานดนตรีกรรม หมายถึง งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้น เพื่อบรรเลง หรือ ขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว รวมถึงหนังสือเพลง โน๊ตเพลง หรือแผนภูมิเพลง ที่แยกหรือเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
     5. งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนต์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
            งานโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ เทปเพลง แผ่นเสียง วีดีโอเทป สไลด์ โทรทัศน์ หรือสิ่งที่สามารถบันทึกเสียงหรือภาพไว้ ที่สามารถนำมาเล่นซ้ำได้อีก
            งานภาพยนต์ ไม่ว่าจะมีเสียงประกอบหรือไม่ก็ตาม โดยบันทึกลงในวัสดุอย่างใดเพื่อนำออกมาฉายได้อย่างภาพยนต์
            งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ได้แก่ งานที่นำออกไปสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุหรือแพร่ภาพทางโทรทัศน์
     6. งานสิ่งบันทึกเสียง หมายถึง งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตร เสียงการแสดงหรือเสียงอื่นใด โดยบันทุกลงในวัสดุไม่ว่ามีสักษณะใด ซึ่งนำมาเล่นซ้ำได้อีก แต่ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนต์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
     7. งานนักแสดง หมายถึงผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำ และผู้ซึ่งแสดง ท่าทาง ร้องกล่าว พากย์ แสดงตามบท หรือลักษณะอื่นใด

นิติกรรมคืออะไร

      ลักษณะของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
     จากบทนิยาม มาตรา 149 อาจจำแนกลักษณะของนอตอกรรมได้ดังนี้
         1. ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคล
         2. ต้องประกอบด้วยใจสมัคร
         3. มุ่งให้มีผลผูกพันในทางกฎหมาย
         4. เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
         5. การกระทำนั้นเพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิ

     1. ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคล คือ ต้องมีการกระทำของบุคคลโดยการแสดงออกมาให้ปรากฏ ให้บุคคลภายนอก รับรู้เข้าใจในความต้องการของผู้แสดงเจตนา โดยจะแสดงออกมาให้ปรากฏในรูปใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง หรือ เจตนาโดยปริยาย หรือ การแสดงเจตนาโดยการนิ่ง

     2. การกระทำนั้นต้องประกอบด้วยใจสมัคร คือ การที่กระทำนิติกรรมต้องเป็นการแสดงเจตนาด้วยใจจริง และด้วยใจสมัคร โดยมีอิสระในการตัดสินใจ ปราศจากการข่มขู่ ล่อลวง ฉ้อฉล หรือหลอกลวงให้สำคัญผิดใดๆ หากการแสดงเจตนาดังกล่าวเป็นการสมัครใจแล้ว แม้จะตกลงให้ได้เปรียบแก่กันอย่างไรก็ถือว่าใช้ได้

     3. ต้องมุ่งให้มีผลผูกพันทางกฎหมาย คือ การแสดงเจตนาดังกล่าวต้องมีเจตนามุ่งผลในทางกฎหมาย โดยประสงค์ให้มีผลผูกพันกันระหว่างคู่สัญญา หากอีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตาม แต่หากเป็นการแสดงเจตนาอื่นใดที่ไม่ได้มุ่งให้มีผลผูกพันทางกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องของนิติกรรม เช่น การที่พ่อแม่หลอกว่าจะซื้อของเล่นให้ โดยมีเจตนาเพื่อให้ลูกหยุดร้องไห้ ผลผูกพันในทางกฎหมายนี้ คือ การเคลื่อนไหวในสิทธิ 5 ประการ คือ การก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ หรือการระงับสิทธิ เช่นการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือการทำสัญญาเช่าทรัพย์ ตลอดจนการบอกเลิกสัญญา หรือการปลดหนี้ซึ่งเป็นผลทำให้สิทธิตามสัญญาระงับลง เป็นต้น

     4. ต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ เป็นการกระทำที่ทำโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไม่ให้กระทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุประสงค์ของนิติกรรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยความสามาถของบุคคล ตลอดจนแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นต้น

     5. ต้องเป็นการกระทำเพื่อมุ่งประสงค์ให้เกิดผลตามกฎหมาย ซึ่งรวมกันเรียกว่า "การเคลื่อนไหวในสิทธิ" โดยสิทธิจะแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
         1) บุคคลสิทธิ หมายถึง สิทธิเรียกร้องอันมีต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ มิใช่มีต่อบุคคลทั่วไป คือเป็นสิทธิเหนือบุคคล หรือหนี้เหนือบุคคล
         2) ทรัพย์สิทธิ หมายถึง สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือสิทธิที่อยู่เหนือทรัพย์สินและเป็นสิทธิที่จะเอาแก่ตัวทรัพย์สินได้โดยตรง
     
     จะเห็นว่าการทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมายจะต้องครบเงื่อนไขทั้ง 5 ประการ จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ หากนิติกรรมใดทำไม่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดแล้ว จะส่งผลให้นิติกรรมนั้นไม่สมบูรณ์หรืออาจตกเป็นโมฆะตามกฎหมายได้

กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาแตกต่างกันอย่างไร

กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา มีความแตกต่างกันในสาสำคัญดังต่อไปนี้
     1. แตกต่างกันด้วยลักษณะแห่งกฎหมาย กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ์ หน้าที และความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ส่วนกฎหมายอาญา เป็นกฎหทายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน
     2. แตกต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กฎหมายแพ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะอำนวยและรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในความสัมพันะ์ระหว่าเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ส่วนกฎหมายอาญานั้นมีเจตนารมย์ในทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองมุ่งประสงค์คุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่สังคม
     3. แตกต่างกันด้วยการตีความ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่า การตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก้คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีท้องถิ่น ส่วนในกฎหมายอาญานั้นจะตีความอย่างกฎหมายแพ่งไม่ได้ หากแต่ต้องตีความโดยเคร่งครัดจะถือว่าบุคคลใดมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ต้องตีความตามตัวอักษรที่ปรกฎในบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆ โดยตรงจะมีการขยายความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำอื่นๆ อันใกล้เคียงกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดมิได้
    4. แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ ประหาร จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์

ความแตกต่างในความผิดของกฎหมายทางอาญาและความผิดทางแพ่ง


     1. ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หวาดหวั่นแก่บุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประชาชน ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด

     2. กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์ลงโทษผู้กระทำผิดหากผู้กระทำผิดตายลงการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หากผู้กระทำผิดตายลงต้องมีการเรียกร้องจากกองมรดกของผู้กระทำความผิด ยกเว้นหนี้เฉพาะตัว

     3. ความผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เมื่อกระทำโดยเจตนา หากทำโดยประมาทต้องดูว่ากฎหมายบัญญัติให้รับผิดชอบหรือไม่ในกรณีต่างๆ ส่วนความผิดทางแพ่งนั้นต้องรับผิดชอบทุกกรณีไม่ว่าจะเจตนาหรือประมาทก็ตาม

     4. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด มีความผิด มีโทษที่รุนแรง ส่วนกฎหมายแพ่ง ต้องตีความตามตัวอักษรหรือเจตนารมณ์ของบัญญัติของกฎหมายนั้นๆ ดังนั้น การที่เป็นความผิดทางแพ่งนั้น ศาลอาจตีความขยายได้

     5. ความผิดทางอาญานั้น โทษจะลงแก่ตัวผู้กระทำผิด ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ เพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

     6. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ยอมความไม่ได้ ความผิดที่ยอมความได้เช่น หมิ่นประมาท ยักยอก เป็นต้น ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องต่อศาล

     7. ความผิดในทางอาญา บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้ร่วมก่อหนี้ ร่วมกันทำละเมิด ตลอดทั้งยุยงหรือช่วยเหลือ ต้องร่วมรับผิดและชดให้ความเสียหายเหมือนกันหมด

     8. ความรับผิดทางอาญา กางลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อบำบัดความเสียหายต่อส่วนร่วม ส่วนความรับผิดทางแพ่งต้องบำบัดความเสียหายแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ

ระบบและหมวดหมู่กฎหมาย

ระบบกฎหมายที่สำคัญมี 2 ระบบคือ
     1. ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) มีวิวัฒนาการมาจากประเทศอังกฤษและแพร่หลายในประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ และแคนนาดา เป็นกฎหมายที่ใช้ใการตัดสินคดีจากแนวบรรทัดฐานของคำตัดสินจากผู้พิพากษาได้ตัดสินไว้ กฎหมายจะถูกตราและบังคับใช้โดยรัฐสภาควบคู่ไปกับกฎหมายคอมมอนลอว์ที่เคยวางบรรทัดฐานเอาไว้ รายละเอียดเพิ่มเติม
     2. ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) มีวิวัฒนาการมาจากฎหมายโรมัน ที่นักปราชญ์ชาวโรมันรวบรวมเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่ากฎหมายสิงสองโต๊ะ ซึ่งบัญญัติถึงกฎเกณฑ์ที่ควบคุมความประพฤติของสังคม ในสมัยพระเจ้าจัสติเนียน ได้ให้เป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป เรียกว่า คอร์ปัส จุริส ซิวิลิส
        กฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) แพร่หลายในประเทศในภาคพื้นยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ประเทศไทย ฯลฯ รายละเอียดเพิ่มเติม

ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) มีวิวัฒนาการมาจากฎหมายโรมัน ที่นักปราชญ์ชาวโรมันรวบรวมเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

หมวดหมู่ของกฎหมาย แบ่งออกเป้น 4 หมวดดังนี้
     1. กฎหมายภายในและกฎหมานระหว่างประเทศ
         1) กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ภายในประเทศ เช่น กฎหมายเอกชน กฎหมายแ่พ่ง เป็นต้น
         2) กฎหมายระหว่างประเทศ บัญญัติขึ้นโดยงองค์กรระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐต่อรัฐ จำแนกตามความสัมพันธ์ได้ดังนี้
             - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีการเมือง
             - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
             - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
     2. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน (จำแนกโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน)
         1) กฎหมายมหาชน กำหนดความสัมพันธ์ของรัฐในฐานะที่เป็นผู้ปกครองและประชาชนผู้ใต้ปกครอง เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
         2) กฎหมายเอกชน กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน อย่างเท่าเทียมกัน
     3. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอาญา
         1) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน ในเรื่อง บุคคล หนี้ ทรัพย์สิน ครอบครัวและมรดก สภาพบังคับเป็นการพ้องหรือร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองสิทธิ์หรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิ์
         2) กฎหมายอาญา จะกำหนดการกระทำผิดและบทลงโทษ สภาพบังคับมี 5 ประการ คือ ประหาร จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์ ดังนั้นการกระทำผิดทางอาญาจึงเป็นการฟ้องเพื่อให้รัฐลงโทษ กฎหมายอาญาจึงประกอบไปด้วยส่วนที่บัญญัติถถึงความผิด และส่วนที่บัญญัติถึงโทษด้วย


     4. กฎหมายสาระบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
         1) กฎหมายสาระบัญญัติ บัญญัติถึงเนื้อหาของสิทธิ์ หน้าที่ ข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคม
         2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ บัญญัติถึงวิธีพิจรณาความ กระบวนการยุติข้อพิพาท หรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิ์ หน้าที่
     การแยกกฎหทายตามหมวดหมุ่ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการใช้กฎหมายทั้งสองต้องใช้ให้สอดคล้องกันและกัน

วิวัฒนาการและจุดกำเนิดของกฎหมาย

วิวัฒนาการของกฎหมาย หรือ ความเป็นมาของกฎหมาย จะแบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ
     1. ยุคกฎหมายชาวบ้าน กฎหมายยุคชาวบ้านเป็นกฎหมายที่มีหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมความประพฤติในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณี ใช้เหตุผลและหลักการธรรมดาที่ชาวบ้านรู้ได้ว่าคือ กฎหมาย เช่น ขนบธรรมเนียมในวันสงกรานต์ ขนบธรรมเนียมการแต่งตัวในวันสำคัญ ขนบธรรมเนียมการแต่งงาน เป็นต้น และในยุคนี้ยังไม่มีนักกฎหมาย
     2. ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย สังคมมีการพัฒนาที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ใช้กฎหมายชาวบ้านในการตัดสินการกระทำบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นต้องพึ่งนักกฎหมายที่จะต้องคิดกฎเกณฑ์เพิ้มเติม สำหรับเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยชี้ขาด
     3. ยุคกฎหมายเทคนิค เป็นยุคที่กฎหมายเกิดขึ้นโดยกระบวนการนิติบัญญัติ

กฎหมายชาวบ้าน-การแต่งงานต้องมีสินสอดทองหมั้น
ยุคกฎหมายชาวบ้าน - การแต่งงานจะต้องมีสินสอดทองหมั้น
จุดกำเนิดของกฎหมาย
     กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป และคำพิพากษาของศาล ทั้งหมดเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย โดยบ่อเกิดของกฎหมายของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป
     1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นบ่อเกิดที่สำคัญที่สุดของกฎหมายไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
          1) กฎหมายแท้ เกิดจากการบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
          2) กฎหมายบริหารบัญญัติ  บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร เช่น พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
          3) กฎหมายองค์กรบัญญัติ บัญญัติโดยองค์กรมหาชนที่มีอิสระในการปกครอง เช่น เทศบาล สุขาภิบาล
     2. กฎหมายประเพณี เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ปรากฏขึ้นในรูปจารีตประเพณี มีลักษณะสำคัญดังนี้
         1) เป็นจารีตประเพณีที่ใช้ปฏิบัติกันมานาน สม่ำเสมอ
         2) รู้สึกว่าจารีตประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตาม
     3. หลักกฎหมายทั่วไป ที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 โดยหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะเป็นบ่อเกิดของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะนำมาใช้ในกฎหมายอาญาไม่ได้
     4. คำพิพากษาของศาลที่เป็นบรรทัดฐาน ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ตามหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ

     กฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทต่างๆ เกิดจากการบัญญัติกฎหมายขององค์กรผู้มีอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามอำนาจการบัญญัติคือ
     1. กฎหมายนิติบัญญัติ ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) เช่น พระราชบัญญัติต่างๆ (พรบ.)
     2. กฎหมายบริหารบัญญัติ ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร ถือเป็นกฎหมายยกเว้นเนื่องจากฝ่ายบริหารไม่มีหน้าที่ออกกฎหมาย เช่น
         1) พระราชกำหนด ที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พระราชกำหนดทั่วไป และพระราชกำหนดเฉพาะ
         2) กฎหมายลำดับรอง ได้แก่ พระราชกฤษฏีกา กฎหมายระหว่างกระทรวง ฯลฯ
     3. กฎหมายองค์การบัญญัติ องค์การมหาชนที่มีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองเป็นผู้ออกกฎหมาย เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพฯ ออกโดยกรุงเทพฯ เป็นต้น

กฎหมายคืออะไร มีลักษณะอย่างไร?

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
 
     คำว่า กฎหมาย ที่ทุกคนต้องรู้จัก หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้น ผู้ใดฝ่าฝืนมีสภาพบังคับ หรืออาจหมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ที่บัญญัติไว้โดยผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ เพื่อใช้บังคับความประพฤติของประชาชน ทำให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากใครฝ่าฝืนต้องได้รับผลตามที่กฎหมายกำหนดไว้
 
กฎหมายจะแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
         1. กฎหมายตามเนื้อความ เป็นแบบแผนและมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจลักษณะ
         2. กฎหมายตามแบบพิธี เป็นกฎหมายที่จัดทำโดยออกบัญญัติกฎหมาย
 
ลักษณะของกฎหมายจะมี 5 ประการดังนี้
         1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ที่อยู่ในรูบของคำสั่ง คำบัญชา ที่แสดงถึงความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะที่บังคับ เพื่อให้บุคคลปฏิบัตหรืองดเว้น
         2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฐาธิปัตย์ (รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน)
         3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป ไม่ใช่กำหนดขึ้นพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
         4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฎิบัติตาม
         5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับในทางอาญาทั่วไปแล้ว คล้ายคลึงกันคือ หากเป็นโทษสูงสุดประหารชีวิต จากนั้นคือการจำคุก สภาพบังคับในทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นโมฆะ