การโอนกรรมสิทธิ์ และทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้

     จากบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย เราจะเห็นว่าสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นทันที ที่มีคำเสนอ และคำสนองต้องตรงกัน เมื่อตกลงซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อทันที เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปเป๊ฃ็นของผู้ซื้อ หากเกิดภัยพิบัติขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ขาย ความเสียหายนั้นๆ ก็ต้องตกไปแก่ผู้ซื้อ แต่มีข้อยกเว้นอยู่ 3 ประการ คือ

     1. หากมีกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลากันไว้ กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนไปจนกว่า เงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาจะสำเร็จ
     2. กรณีที่ไม่ได้มีการกำหนดตัวทรัพย์ไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์จะโอนไปเมื่อมีการ นับ วัด ชั่ง ตวง กำหนดตัวทรัพย์สินเป็นที่แน่นอนแล้ว
     3. กรณีเป็นสัญญาจะซื้อขาย กรรมสิทธิ์จะโอนไปก็ต่อเมื่อได้มีการทำเป็นหนังสือ หรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง

ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้
     สำหรับทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายไม่ได้นั้น อาจพิจารณาได้ ดังนี้

ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้
 
          1. ทรัพย์สินที่มีกฎหมายห้ามจำหน่าย
              ทรัพย์สินบางประเภทจะต้องห้ามมีการจำหน่าย จ่าน โอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ก็ตาม อันได้แก่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน วัดและที่ธรณีสงฆ์ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินที่จำหน่ายมีความผิดตามกฎหมาย
          2. ทรัพย์สินที่มีการห้ามจำหน่ายด้วยเจตนาของบุคคล
              ทรัพย์สินประเภทนี้เป็นการแสดงเจตนาของเจ้าของทรัพย์สิน ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย เช่น การทำพินัยกรรมเอาไว้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น