ความหมายและลักษณะของยืม

     ยืม คือสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 9 ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ ยืมใช้คงรูปและยืมใช้สิ้นเปลือง โดยดูจากทรัพย์ว่าเป็นประเภทสิ้นเปลือง เช่น น้ำ ข้าว หรือเป็นประเภทคงรูป เช่น รถยนต์ กระเป๋า เป็นต้น

ยืมใช้คงรูปและยืมใช้สิ้นเปลือง

     ดังนั้น ยืม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้ให้คำนิยามไว้โดยตรง แต่ได้บัญญัติเฉพาะคำนิยามของ "ยืมใช้คงรูป" และคำนิยามของ "ยืมใช้สิ้นเปลือง" ไว้เท่านั้น เนื่องจากยืมเป็นสัญญาชนิดหนึ่ง ลักษณะของยืมจึงมีสาระสำคัญดังนี้
     1. ยืมเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้ยืม" อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้ให้ยืม" โดยการที่จะเป้นสัญญายืมได้ จะต้องเป็นเรื่องที่คู่กรณี แสดงเจตนาโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กัน
     2. คู่สัญญาต้องมีความสามารถตามกฎหมาย กล่าวคือ ไม่เป้นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ มิฉะนั้นสัญญาจะเป็นโมฆียะ
     3. วัตถุประสงค์ของสัญญายืมต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นการพ้นวิสัย มิฉะนั้นย่อมตกเป็นโมฆะได้ เช่น นายทองมาขอกู้เงินนายดี โดยนายทองจะนำเงินไปลงทุนค้าฝิ่น โดยนายดีได้ให้นายทองกู้เงิน เป็นการอุปการะผู้กระทำความผิด ซึ่งการอุปการะนี้ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ดังนั้นวัตถุประสงค์แห่งการยืมจึงตกเป็นโมฆะ
     4. ผู้ให้ยืมจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้ยืมได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งแยกพิจารณ่ได้ดังนี้
          4.1 ถ้าเป็นการยืมใช้คงรูป ผู้ให้ยืมต้องให้ผู้ยืมได้ใช้ทรัพย์สินที่ยืม โดยไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้ยืม
          4.2 ถ้าเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง ผู้ให้ยืมต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ให้แก่ผู้ยืม ในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ยืม
     5. เมื่อได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ยืมเสร็จแล้ว ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้ยืม โดยแยกพิจารณาดังนี้ คือ
          5.1 ถ้าเป็นการยืมใช้คงรูป ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น
          5.2 ถ้าเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์สินที่ มีประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกัน แทนทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้น

การคุ้มครองสิทธิ์และการละเมิดลิขสิทธิ์

การคุ้มครองสิทธิ์
     งานสร้างสรรค์ใดที่มีสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์หรือผู้มีสิทธิ์นั้นย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการ
     1. การทำซ้ำหรือดัดแปลง
     2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
     3. ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศน์วัสดุ ภาพยนต์และสิ่งบันทึกเสียง
     4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
     5. อนุญาติให้ผู้อื่นใช้สิทธิตามข้อ (1) หรือ (2) หรือ (3) โดยเงื่อนไขเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยหรือไม่ก็ได้
     ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตามข้อ (5) ข้างต้น ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิันั้นได้ด้วย เว้นแต่หนังสืออนุญาตจะมีข้อห้ามไว้

การละเมิดลิขสิทธิ์
     จากเรื่องของการคุ้มครองสิทธิที่กล่าวมานั้น กฎหมายจะอนุญาติให้ผู้มีลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพราะฉะนั้น หากบุคคลใดที่ไม่มีลิขสิทธิ์ และไม่ได้รับอนญาต การทำการดังกล่าวให้ถือว่า การกระทำนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนี้

     การทำซ้ำ หมายความรวมถึงคัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น ลอกนวนิยายของผู้อื่น ลอกแบบบ้านของผู้อื่น ลอกตำราของผู้อื่น ฯลฯ การคัดลอกนี้แม้จะเป็นการคัดลอกเพียงบางส่วน หากเป็นส่วนที่สาระสำคัญแล้วก็ถือว่า เป็นการทำซ้ำเช่นกัน แต่ถ้าการคัดลอก แต่ถ้าคัดลอกในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น คัดลอกตัวอย่างคำพิพาทษาฏีกาจากตำรากฎหมายของผู้อื่น ดังนี้ไม่ถือว่าเป็นการทำซ้ำ ดังนั้นจึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
     ในส่วนที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายรวมถึงคัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกต่างๆ ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะ เป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

     การดัดแปลง หมายความว่า การทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรัปปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือการจำลองงานต้นฉบับใหม่ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น การแปล เปลี่ยนรูปวรรณกรรรม หรือรวบรวมวรรณกรรม คัดเลือกและจัดลำดับใหม่ หรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ใช่ลักษณะเป็นการจัดทำขึ้นใหม่ เปลี่ยนงานที่ไม่ใช่นาฎกรรมเป็นนาฎกรรม หรือเปลี่ยนงานนาฎกรรมให้เป็นงานที่ไม่ใช่นาฎกรรม หรือการจัดลำดับ เรียบเรียงเสียงประสาน หรือเปลี่ยนคำร้อง หรือทำนองใหม่ในงานดนตรีกรรม เป็นต้น

     การเผยแพร่ต่อสาธารณชน หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง บรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฎด้วยเสียงหรือภาพ การก่อสร้าง หรือการจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น เช่น เปิดเพลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น
     เราจะเห็นว่า สาระสำคัญของการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นี้ มุ่งที่จะสกัดกั้น การเปิดเผยงานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนนั้นเอง ทั้งนี้เพราะการทำซ้ำ การดัดแปลง หรือ การโฆษณานั้น เป็นทางที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้สร้างสรรค์งานนั้น ต้องถูกกระทบกระเทือน กฎหมายห้ามกระทำการดังกล่าว
    
     การกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อีกทางหนึ่งคือ การนำเอางานซึ่งรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ออกขาย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอขาย เสนอให้เช่า เสนอให้เช่าซื้อ ฯลฯ เช่น การนำวีดีโอเทปอันละเมิดลิขสิทธิ์ออกให้เช่า หรือการขายตำราที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ดังนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์รวมทั้งการเผยแพร่ต่อประชาชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นำหรือส่งเข้ามาในราชอาณาจักร