ประเภท ความสมบูรณ์ แบบแห่งนิติกรรม

ประเภทของนิติกรรม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
     1. นิติกรรมฝ่ายเดียวกับนิติกรรมหลายฝ่าย
          นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายเดียว เช่น การตั้งมูลนิธิ การทำพินัยกรรม เป็นต้น
          นิติกรรมสองฝ่าย ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า เป็นต้น
     2. นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำมีชีวิตอยู่ กับนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว
           นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ นิติกรรมที่ผู้เจตนาประสงค์จะให้เกิดผลในขณะมีชีวิตอยู่ เช่น คำมั้นจะให้รางวัล การรับสภาพนี้ เป็นต้น
           นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว ได้แก่ นิติกรรมที่ผู้ทำประสงค์ให้เป็นผลเมื่อตนเองได้เสียชีวิตลงแล้ว เช่น พินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
     3. นิติกรรมมีค่าตอบแทนกับนิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน
           นิติกรรมมีค่าตอบแทนได้แก่ นิติกรรมสองฝ่ายซึ่งต่างฝ่ายต่างมีประโยชน์ตอบแทนกัน ซึ่งค่าตอบแทนที่ว่านั้นอาจเป็นประโยชน์ หรือสินทรัพย์ หรือการชำระหนี้ตอบแทนก็ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น
           นิติกรรมที่ไม่มีผลตอบแทน ได้แก่ นิติกรรมที่ผู้รับการแสดงเจตนาของอีกฝ่ายนั้น ไม่จำต้องให้ประโยชน์ตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น สัญญาให้โดยเสน่หา สัญญายืมใช้คงรูป เป็นต้น

ความสมบูรณ์แห่งนิติกรรม
     1. ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม
         ถ้านิติกรรมใดได้กระทำลงโดยผู้หย่อนความสามารถตากกฎหมาย ซึ่งได้แก่บุคคล 3 ประเภท คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
     2. วัตถุประสงค์แห่งนิติกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
          จุดประสงค์หรือความมุ่งหมายสุดท้ายของคู่กรณี มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เช่น สัญญาจ้างฆ่าคน สัญญาซื้อขายสิ่งผิดกฎหมาย เป็นต้น หรือ มีวัตถุประสงค์อันเป็นการพ้นวิสัยก็ดี คือ เป็นกรณีที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฎิบัติตามสัญญาได้เลย โดยไม่มีทางทำให้สำเร็จได้ ไม่ใช่เพียงแต่สัญญาที่ปฎิบัติยาก หรือทำให้เสียเปรียบอย่างมากเท่านั้น หรือมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

แบบแห่งนิติกรรม
     แบบแห่งนิติกรรม หมายถึง วิธีที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษเพื่อเป็นหลักบังคับให้ผู้ทำนิติกรรมต้องทำตามให้ครบถ้วน มิฉะนั้น นิติกรรมจะตกเป็นโมฆะ โดยสามารถแยกชนิดของแบบแห่งนิติกรรม ได้แก่
     1. ชนิดที่ต้องทำเป็นหนังสือ ได้แก่ นิติกรรมที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นหนังสืออย่างน้อยสุดระหว่างกันเอง จึงเห็นสมควรให้ผู้ทำนิติกรรมบันทึกข้อตกลงไว้เป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไว้ เช่น สัญญาเช่าซื้อ สัญญาตัวแทนบางประเภท หากตกลงทางวาจาถือว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ
     2. ชนิดที่ต้องทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คือ นอกจากจะทำเป็นหนังสือแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้ต้องไปบันทึกไว้ต่อหน้าเจ้าพนักงานจึงจะมีผล เช่น การคัดค้่าน ตัวแลกเงิน การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง หรือแบบเอกสารลับ เป็นต้น
     3. ชนิดที่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเป็นนิติกรรมที่สำคัญมาก กฎหมายจึงกำหนดไว้ว่านอกจากต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ยังต้องไปทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาฝากขาย สัญญาจำนอง สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือตกเป็นโมฆะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น