ระบบและหมวดหมู่กฎหมาย

ระบบกฎหมายที่สำคัญมี 2 ระบบคือ
     1. ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) มีวิวัฒนาการมาจากประเทศอังกฤษและแพร่หลายในประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ และแคนนาดา เป็นกฎหมายที่ใช้ใการตัดสินคดีจากแนวบรรทัดฐานของคำตัดสินจากผู้พิพากษาได้ตัดสินไว้ กฎหมายจะถูกตราและบังคับใช้โดยรัฐสภาควบคู่ไปกับกฎหมายคอมมอนลอว์ที่เคยวางบรรทัดฐานเอาไว้ รายละเอียดเพิ่มเติม
     2. ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) มีวิวัฒนาการมาจากฎหมายโรมัน ที่นักปราชญ์ชาวโรมันรวบรวมเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่ากฎหมายสิงสองโต๊ะ ซึ่งบัญญัติถึงกฎเกณฑ์ที่ควบคุมความประพฤติของสังคม ในสมัยพระเจ้าจัสติเนียน ได้ให้เป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป เรียกว่า คอร์ปัส จุริส ซิวิลิส
        กฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) แพร่หลายในประเทศในภาคพื้นยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ประเทศไทย ฯลฯ รายละเอียดเพิ่มเติม

ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) มีวิวัฒนาการมาจากฎหมายโรมัน ที่นักปราชญ์ชาวโรมันรวบรวมเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

หมวดหมู่ของกฎหมาย แบ่งออกเป้น 4 หมวดดังนี้
     1. กฎหมายภายในและกฎหมานระหว่างประเทศ
         1) กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ภายในประเทศ เช่น กฎหมายเอกชน กฎหมายแ่พ่ง เป็นต้น
         2) กฎหมายระหว่างประเทศ บัญญัติขึ้นโดยงองค์กรระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐต่อรัฐ จำแนกตามความสัมพันธ์ได้ดังนี้
             - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีการเมือง
             - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
             - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
     2. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน (จำแนกโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน)
         1) กฎหมายมหาชน กำหนดความสัมพันธ์ของรัฐในฐานะที่เป็นผู้ปกครองและประชาชนผู้ใต้ปกครอง เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
         2) กฎหมายเอกชน กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน อย่างเท่าเทียมกัน
     3. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอาญา
         1) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน ในเรื่อง บุคคล หนี้ ทรัพย์สิน ครอบครัวและมรดก สภาพบังคับเป็นการพ้องหรือร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองสิทธิ์หรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิ์
         2) กฎหมายอาญา จะกำหนดการกระทำผิดและบทลงโทษ สภาพบังคับมี 5 ประการ คือ ประหาร จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์ ดังนั้นการกระทำผิดทางอาญาจึงเป็นการฟ้องเพื่อให้รัฐลงโทษ กฎหมายอาญาจึงประกอบไปด้วยส่วนที่บัญญัติถถึงความผิด และส่วนที่บัญญัติถึงโทษด้วย


     4. กฎหมายสาระบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
         1) กฎหมายสาระบัญญัติ บัญญัติถึงเนื้อหาของสิทธิ์ หน้าที่ ข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคม
         2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ บัญญัติถึงวิธีพิจรณาความ กระบวนการยุติข้อพิพาท หรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิ์ หน้าที่
     การแยกกฎหทายตามหมวดหมุ่ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการใช้กฎหมายทั้งสองต้องใช้ให้สอดคล้องกันและกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น