วิวัฒนาการและจุดกำเนิดของกฎหมาย

วิวัฒนาการของกฎหมาย หรือ ความเป็นมาของกฎหมาย จะแบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ
     1. ยุคกฎหมายชาวบ้าน กฎหมายยุคชาวบ้านเป็นกฎหมายที่มีหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมความประพฤติในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณี ใช้เหตุผลและหลักการธรรมดาที่ชาวบ้านรู้ได้ว่าคือ กฎหมาย เช่น ขนบธรรมเนียมในวันสงกรานต์ ขนบธรรมเนียมการแต่งตัวในวันสำคัญ ขนบธรรมเนียมการแต่งงาน เป็นต้น และในยุคนี้ยังไม่มีนักกฎหมาย
     2. ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย สังคมมีการพัฒนาที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ใช้กฎหมายชาวบ้านในการตัดสินการกระทำบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นต้องพึ่งนักกฎหมายที่จะต้องคิดกฎเกณฑ์เพิ้มเติม สำหรับเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยชี้ขาด
     3. ยุคกฎหมายเทคนิค เป็นยุคที่กฎหมายเกิดขึ้นโดยกระบวนการนิติบัญญัติ

กฎหมายชาวบ้าน-การแต่งงานต้องมีสินสอดทองหมั้น
ยุคกฎหมายชาวบ้าน - การแต่งงานจะต้องมีสินสอดทองหมั้น
จุดกำเนิดของกฎหมาย
     กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป และคำพิพากษาของศาล ทั้งหมดเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย โดยบ่อเกิดของกฎหมายของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป
     1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นบ่อเกิดที่สำคัญที่สุดของกฎหมายไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
          1) กฎหมายแท้ เกิดจากการบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
          2) กฎหมายบริหารบัญญัติ  บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร เช่น พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
          3) กฎหมายองค์กรบัญญัติ บัญญัติโดยองค์กรมหาชนที่มีอิสระในการปกครอง เช่น เทศบาล สุขาภิบาล
     2. กฎหมายประเพณี เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ปรากฏขึ้นในรูปจารีตประเพณี มีลักษณะสำคัญดังนี้
         1) เป็นจารีตประเพณีที่ใช้ปฏิบัติกันมานาน สม่ำเสมอ
         2) รู้สึกว่าจารีตประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตาม
     3. หลักกฎหมายทั่วไป ที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 โดยหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะเป็นบ่อเกิดของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะนำมาใช้ในกฎหมายอาญาไม่ได้
     4. คำพิพากษาของศาลที่เป็นบรรทัดฐาน ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ตามหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ

     กฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทต่างๆ เกิดจากการบัญญัติกฎหมายขององค์กรผู้มีอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามอำนาจการบัญญัติคือ
     1. กฎหมายนิติบัญญัติ ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) เช่น พระราชบัญญัติต่างๆ (พรบ.)
     2. กฎหมายบริหารบัญญัติ ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร ถือเป็นกฎหมายยกเว้นเนื่องจากฝ่ายบริหารไม่มีหน้าที่ออกกฎหมาย เช่น
         1) พระราชกำหนด ที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พระราชกำหนดทั่วไป และพระราชกำหนดเฉพาะ
         2) กฎหมายลำดับรอง ได้แก่ พระราชกฤษฏีกา กฎหมายระหว่างกระทรวง ฯลฯ
     3. กฎหมายองค์การบัญญัติ องค์การมหาชนที่มีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองเป็นผู้ออกกฎหมาย เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพฯ ออกโดยกรุงเทพฯ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น