นายหน้า คือ บุคคลที่ชี้ช่องทางหรือจัดการให้บุคคลสองฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน เช่น สัญญาขายทรัพย์สิน สัญญาจำนองที่ดิน เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการชี้ช่องให้เข้าทำสัญญาที่ผิดกฎหมาย เช่น สัญญาขายยาเสพติด จะถือว่าเป็นสัญญาเสียเปล่าบังคับไม่ได้ นายหน้าก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าบำเหน็จ
สัญญานายหน้าจะเป็นหนังสือ หรือตกลงด้วยปากเปล่าก็ได้ แต่สัญญานายหน้าจะต่างกับสัญญาตัวแทนที่ว่า นายหน้าเป็นผู้ชี้ช่องให้คู่กรณีทำสัญญากันเท่านั้นไม่มีสิทธิลงชื่อหรือเข้าทำสัญญาแทน ไม่มีสิทธิทำนิติกรรมสัญญาโดยตรง
สาระสำคัญของสัญญานายหน้า มีดังนี้
1. สัญญานายหน้าเป็นสัญญาสองฝ่าย
2. วัตถุประสงค์ของสัญญาก็คือ การที่นายหน้าชี้ช่อง หรือจัดการให้มีการทำสัญญา
3. บุคคลที่ตกลงกันจะได้ค่าบำเหน็จนายหน้า จะรับผิดชอบจ่ายค่าบำเหน็จต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันสำเร็จ
บำเหน็จของนายหน้า
สัญญานายหน้านั้น ตามปกติถือว่ามีบำเหน็จ แม้จะไม่มีข้อตกลงกันไว้ก็ต้องให้ตามธรรมเนีบม คือ ร้อยละ 5 (ที่ดิน ร้อยละ 3)สิทธิเรียกค่าบำเหน็จเกิดขึ้น เมื่อตัวการกับบุคคลภายนอกได้ตกลงกัน ทำสัญญากันเสร็จ แม้ต่อมาจะมีการบอกเลิกสัญญาภายหลัง ก็ต้องจ่ายค่าบำเหน็จให้
อายุความเรียกค่านายหน้า
ค่าบำเหน็จนายหน้า ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น สิทธิเรียกร้องบำเหน็จค่านายหน้าจะมีอายุความ 10 ปี
ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญานายหน้า
โดยที่ไม่มีกฎหมายลักษณะนี้บัญญัติไว้ จึงต้องใช้หลักเลิกสัญญาโดยทั่วไปมาบังคับใช้ เช่น สัญญากำหนดว่านายหน้าจะต้องจัดการหาผู้ซื้อมาทำสัญญาภายใน 3 เดือน สัญญานายหน้าก็มีกำหนด 3 เดือน ครบ 3 เดือนนายหน้ายังหาผู้ซื้อไม่ได้ สัญยานายหน้าก็เป็นอันบอกเลิกไป
รูปภาพจาก wimarn.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น