1. ยุคกฎหมายชาวบ้าน กฎหมายยุคชาวบ้านเป็นกฎหมายที่มีหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมความประพฤติในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณี ใช้เหตุผลและหลักการธรรมดาที่ชาวบ้านรู้ได้ว่าคือ กฎหมาย เช่น ขนบธรรมเนียมในวันสงกรานต์ ขนบธรรมเนียมการแต่งตัวในวันสำคัญ ขนบธรรมเนียมการแต่งงาน เป็นต้น และในยุคนี้ยังไม่มีนักกฎหมาย
2. ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย สังคมมีการพัฒนาที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ใช้กฎหมายชาวบ้านในการตัดสินการกระทำบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นต้องพึ่งนักกฎหมายที่จะต้องคิดกฎเกณฑ์เพิ้มเติม สำหรับเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยชี้ขาด
3. ยุคกฎหมายเทคนิค เป็นยุคที่กฎหมายเกิดขึ้นโดยกระบวนการนิติบัญญัติ
ยุคกฎหมายชาวบ้าน - การแต่งงานจะต้องมีสินสอดทองหมั้น |
จุดกำเนิดของกฎหมาย
กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป และคำพิพากษาของศาล
ทั้งหมดเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย โดยบ่อเกิดของกฎหมายของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป
1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นบ่อเกิดที่สำคัญที่สุดของกฎหมายไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1) กฎหมายแท้ เกิดจากการบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
2) กฎหมายบริหารบัญญัติ บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร เช่น พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
3) กฎหมายองค์กรบัญญัติ บัญญัติโดยองค์กรมหาชนที่มีอิสระในการปกครอง เช่น เทศบาล สุขาภิบาล
2. กฎหมายประเพณี เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ปรากฏขึ้นในรูปจารีตประเพณี มีลักษณะสำคัญดังนี้
1) เป็นจารีตประเพณีที่ใช้ปฏิบัติกันมานาน สม่ำเสมอ
2) รู้สึกว่าจารีตประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตาม
3. หลักกฎหมายทั่วไป ที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 โดยหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะเป็นบ่อเกิดของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะนำมาใช้ในกฎหมายอาญาไม่ได้
4. คำพิพากษาของศาลที่เป็นบรรทัดฐาน ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ตามหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ
กฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทต่างๆ เกิดจากการบัญญัติกฎหมายขององค์กรผู้มีอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามอำนาจการบัญญัติคือ
1. กฎหมายนิติบัญญัติ ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) เช่น พระราชบัญญัติต่างๆ (พรบ.)
2. กฎหมายบริหารบัญญัติ ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร ถือเป็นกฎหมายยกเว้นเนื่องจากฝ่ายบริหารไม่มีหน้าที่ออกกฎหมาย เช่น
1) พระราชกำหนด ที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พระราชกำหนดทั่วไป และพระราชกำหนดเฉพาะ
2) กฎหมายลำดับรอง ได้แก่ พระราชกฤษฏีกา กฎหมายระหว่างกระทรวง ฯลฯ
3. กฎหมายองค์การบัญญัติ องค์การมหาชนที่มีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองเป็นผู้ออกกฎหมาย เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพฯ ออกโดยกรุงเทพฯ เป็นต้น
1) กฎหมายแท้ เกิดจากการบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
2) กฎหมายบริหารบัญญัติ บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร เช่น พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
3) กฎหมายองค์กรบัญญัติ บัญญัติโดยองค์กรมหาชนที่มีอิสระในการปกครอง เช่น เทศบาล สุขาภิบาล
2. กฎหมายประเพณี เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ปรากฏขึ้นในรูปจารีตประเพณี มีลักษณะสำคัญดังนี้
1) เป็นจารีตประเพณีที่ใช้ปฏิบัติกันมานาน สม่ำเสมอ
2) รู้สึกว่าจารีตประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตาม
3. หลักกฎหมายทั่วไป ที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 โดยหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะเป็นบ่อเกิดของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะนำมาใช้ในกฎหมายอาญาไม่ได้
4. คำพิพากษาของศาลที่เป็นบรรทัดฐาน ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ตามหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ
กฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทต่างๆ เกิดจากการบัญญัติกฎหมายขององค์กรผู้มีอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามอำนาจการบัญญัติคือ
1. กฎหมายนิติบัญญัติ ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) เช่น พระราชบัญญัติต่างๆ (พรบ.)
2. กฎหมายบริหารบัญญัติ ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร ถือเป็นกฎหมายยกเว้นเนื่องจากฝ่ายบริหารไม่มีหน้าที่ออกกฎหมาย เช่น
1) พระราชกำหนด ที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พระราชกำหนดทั่วไป และพระราชกำหนดเฉพาะ
2) กฎหมายลำดับรอง ได้แก่ พระราชกฤษฏีกา กฎหมายระหว่างกระทรวง ฯลฯ
3. กฎหมายองค์การบัญญัติ องค์การมหาชนที่มีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองเป็นผู้ออกกฎหมาย เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพฯ ออกโดยกรุงเทพฯ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น